บทความ

9 วิธีลด “กรดไหลย้อน” ได้ด้วยตัวเอง

  1. แบ่งมื้ออาหารย่อย

การรับประทานอาหารปริมาณมากๆในครั้งเดียวอาจทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนกำเริบขึ้นได้คุณอาจไม่สามารถรับประทานอาหาร1 มื้อได้เท่าเดิมเช่นจากที่เคยกินข้าว3 ทัพพีต่อมื้ออาจทำไม่ได้อีกต่อไปจะเริ่มรู้สึกอึดอัดท้องแน่นคออาหารไม่ย่อยดังนั้นควรแบ่งอาหารออกมารับประทานในแต่ละครั้งให้น้อยลงอาจแบ่งจาก3 มื้อเป็น5-6 มื้อได้

  1. หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท

อาหารบางประเภทอาจทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนกำเริบได้ได้แก่ 

  • สาระแหน่ (มิ้นท์) 
  • อาหารไขมันสูง
  • อาหารรสจัด 
  • มะเขือเทศ
  • หอม
  • กระเทียม
  • กาแฟ
  • ชา
  • ช็อกโกแลต
  • แอลกอฮอล์
  1. อย่าดื่มน้ำอัดลม

น้ำอัดลมอาจทำให้คุณเรอมีแก๊สในกระเพาะอาหารมากขึ้นและยังส่งน้ำย่อยที่เป็นกรดไปที่หลอดอาหารมากขึ้นด้วยดังนั้นควรดื่มน้ำเปล่าธรรมดาๆไปก่อนจะดีกว่า

 

  1. นั่ง/ยืนตรงหลังกินอาหารเสร็จ

การนั่งหรือยืนหลังตรงหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆจะช่วยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารอยู่ในส่วนที่มันควรจะเป็นไม่ไหลย้อนขึ้นมาที่กลางอกให้เรารู้สึกแสบและควรรับประทานอาหารให้เสร็จก่อนเข้านอนอย่างน้อย3 ชั่วโมงด้วย (รวมถึงการห้ามเอนตัวลงนอนเพื่องีบหลังอาหารกลางวันด้วย)

  1. อย่าเคลื่อนไหวร่างกายเร็วเกินไป

ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆหลังรับประทานอาหารภายใน2-3 ชั่วโมงสามารถลุกขึ้นเดินเล่นเบาๆหลังมื้ออาหารได้แต่ไม่ควรออกท่าออกทางออกกำลังกายมากเกินไปโดยเฉพาะการวิ่งหนักๆการก้มๆเงยๆเต้นแอโรบิกหรือทำกาบบริหารต่างๆหลังกินข้าวใหม่ๆเป็นต้น

  1. นอนหลังพิงหัวเตียง

หากใครที่มีอาการมากๆไม่สามารถเอนตัวนอนลงบนพื้นราบได้เพราะกรดอาจจะไหลย้อยมาที่กลางอกในตอนกลางคืนก็ควรนอนหลับในท่าหลังพิงหัวเตียงให้หัวสูงกว่าเท้า6-8 นิ้วอย่าลืมเอาหมอนหนุนสะโพกหลังไปจนถึงคอให้นอนได้สบายด้วยควรเลือกหมอนทรงสามเหลี่ยมที่ช่วยหนุนหลังดีกว่าการเอาหมอนมาวางทับๆกันแล้วนอนเพราะจะไม่ได้มุมที่นอนแล้วสบายกับหลัง

  1. ลดน้ำหนัก

โดยส่วนใหญ่แล้วกรดไหลย้อยมาเกิดขึ้นกับคนที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานหากรู้ตัวว่าตัวเองมีน้ำหนักมากเกินไปการลดน้ำหนักก็จะช่วยให้อาการของกรดไหลย้อนดีขึ้นได้ทั้งนี้หากไม่แน่ใจว่าตัวเองควรลดน้ำหนักหรือไม่ควรปรึกษาแพทย์ที่รักษาโรคกรดไหลย้อนประจำตัวดูก่อนได้

  1. งดสูบบุหรี่

หากเป็นสิงห์นักสูบอยู่แล้วควรเลิกสูบบุหรี่ถาวรเพราะสารนิโคตินในบุหรี่อาจทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารหย่อนคล้อยลงน้ำย่อยที่เป็นกรดจึงอาจไหลย้อนไปที่อื่นในร่างกายเช่นหลอดอาหารคอปากได้ง่ายมากขึ้น

  1. เช็กยาที่ใช้อยู่

ยาสำหรับวัยทองยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิกและยาแก้ปวดแก้อับเสบบางชนิดอาจทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารหย่อนคล้อยลงได้เช่นกันดังนั้นอาจลองปรึกษาแพทย์ที่รักษาโรคอื่นๆอยู่ดูว่าสามารถปรับเปลี่ยนยาได้หรือไม่

ขอบคุณข้อมูล sanook.com

Visitors: 40,533